สารเคมีในสมอง อีเมล์
เขียนโดย -   
เสาร์, 11 ตุลาคม 2008
                                                                                                                        
(แม่จาได้รับอีเมลล์นี้จาแม่อ้อ (เพื่อนแม่อ้อส่งมาให้อีกที) ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้เขียน ขอขอบคุณแม่อ้อ เพื่อนแม่อ้อ  และผู้เรียบเรียงบทความนี้)

"หากชีวิตทุกวัน ได้ฟังเรื่องเล่าดีๆ สักวันละเรื่อง ชีวิตคงยืนยาวไปอีกนาน" เพราะการฟังเรื่องเล่าดีๆ จะทำให้มีการหลั่งสาร Endorphin หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ ?สารแห่งความสุข? ออกมาจากส่วนของต่อมใต้สมอง เข้าสู่กระแสโลหิต และเข้าสู่สมองและไขสันหลังผ่านทาง Hypothalamus

Endorphin เมื่อหลั่งออกมาจะทำหน้าที่ระงับความเจ็บปวด และทำให้อารมณ์ดี มีความสุข รวมทั้งทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ด้วย
ดังนั้นเราควรกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง"สารแห่งความสุข" วันละนิด ด้วยการ
1.   ฟัง หรืออ่านเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จ วันละ 1 เรื่อง หรือ
2.   ฟังเรื่องขำๆ วันละ 1 เรื่อง   หรือ
3.   ทำงานให้สำเร็จ วันละ 1 เรือง หรือ
4.   ออกกำลังกายให้เหงื่อออกสักวันละ 20 นาที

ถ้าทำได้แบบนี้ ก็จะรู้สึกสดชื่นและมีความสุข ซึ่งก็จะมีผลทำให้อายุยืน ไม่แก่เร็วครับสารส่งสัญญาณในสมอง  ในสมองมีสารเคมีบางตัวที่ทำให้เรารู้สึกดี ซึ่งจะมีผลต่อความจำ การเรียนรู้ ความสัมพันธ์ ความคิด กระแสไฟฟ้าจากเซลล์สมองจะทำให้ใยประสาทตัวส่ง (Axon) หลั่งสารเคมีนี้ ไปสู่ใยประสาทของสมองตัวรับ (Dendrite) ที่จุดรับในที่ต่างๆ ในสมอง
สารส่งสัญญาณสมอง แบ่งตามการทำงานได้ 2 ส่วน
1.   Excitatory (การกระตุ้น) ทำให้เซลล์สมองส่งสัญญาณไป เช่น Serotonin Endorphin Acetylcholine  Dopamine ฯลฯ
2.   Inhibitory (การกด ยับยั้ง) ทำให้เซลล์สมองหยุดการทำงาน เช่น Adrenaline Cortisol

เซลล์สมอง 1 ตัว สามารถเป็นทั้งถูกกระตุ้น หรือถูกกดการทำงาน แต่อยู่คนละจุดกันภายในหนึ่งเซลล์ กลุ่มที่ถูกกระตุ้น จะมีจุดรับมากกว่ากลุ่มถูกกด
เมื่อเซลล์ประสาทได้รับข่าวสารข้อมูลซ้ำๆ จะมีผลให้จุดเชื่อมแข็งแรงและจะเพิ่มจุดรับ (Receptor site) มากขึ้น ทำให้การส่งผ่านข้อมูลเร็วขึ้น และง่ายขึ้นเช่นเดียวกัน

การสร้าง และการทำงานของสารส่งสัญญาณในสมอง ดังนี้
เซลล์สมองถูกกระตุ้นจากสัมผัสต่างๆ ผ่านทางหู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง ทำให้เกิดการหลั่งสารชนิดนี้ที่บริเวณสายใยประสาทส่งข้อมูล (Axon) สารนี้จะนำข่าวสารจากเซลล์สมองตัวหนึ่งไปที่เซลล์อีกตัว โดยผ่านจุดเชื่อมไปจับกับใยประสาทตัวรับข้อมูลที่จุดรับ เซลล์สมองตัวรับเมื่อถูกกระตุ้นจากข้อมูลต่างๆ ก็จะทำให้เกิดการทำงาน หรือกดการส่งสัญญาณ สารเคมีที่หลั่งออกมาจะถูกทำลายที่จุดเชื่อม หรือถูกดูดกลับหมด โดยเซลล์สมองตัวส่งสารเคมีทั้งสองกลุ่มนี้ จะช่วยทำให้เด็กมีความตั้งใจ สนใจเรียน และกำจัดสิ่งรบกวนสมาธิออกไปสารเคมีกลุ่มแรกจะทำหน้าที่
-    ควบคุมความประพฤติ การแสดงออก อารมณ์
-    ทำให้สมองตื่นตัว และมีความสุข
-    ทำให้การอ่านข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
-    ทำให้ร่างกายรู้สึกดี มีความสุข
-    ทำให้เพิ่มภูมิต้านทาน สุขภาพแข็งแรง

จะหลั่งมากเมื่อ
-    ออกกำลังกาย
-    ได้รับคำชมเชย
-    ร้องเพลง
-    เล่นเป็นกลุ่ม
-    อยู่ในสิ่งแวดล้อม  ในห้องเรียนที่ดี
-    ให้ทำกิจกรรมกลุ่ม
-    ได้รับสัมผัสที่อบอุ่น
-    มองเห็นคุณค่าของตนเอง
-    เล่นดนตรี และเรียนศิลปะโดยไม่ถูกบังคับ  
-    ได้รับสิ่งที่ชอบ
-    มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ยกตัวอย่างกลุ่มแรก                                                                                
-  Dopamine : ควบคุมการเคลื่อนไหว ถ้าต่ำมีผลต่อความจำที่ใช้กับการทำงาน ถ้าสูงมากเกินไป เกิดโรคจิตประสาทหลอน และจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ผู้ชายจะลดลงมากกว่าผู้หญิง              - Serotonin : ทำให้รู้สึกอารมณ์ดี ทำหน้าที่ส่งข้อมูล เกือบทุกข่าวสารผ่านที่ต่างๆ ในสมอง ถ้าขาดจะทำให้คนซึมเศร้า มองคุณค่าตัวเองต่ำ
- Acetylcholine : ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายทำให้ข้อมูลส่งผ่านได้ดีขึ้น มีบทบาทสำคัญในความจำระยะยาว ช่วยให้สมองเก็บความรู้ที่เราเรียนในเวลากลางวันไปเก็บในสมองในเวลาที่เรากำลังหลับ เป็นสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความฝัน ถ้าขาดสารนี้ทำให้สมาธิลดลง ขี้ลืม นอนไม่ค่อยหลับ
- Endorphin: เป็นยาชาในร่างกายตามธรรมชาติ (Endogenous Morphine) ทำให้รู้สึกเจ็บน้อยลง เช่น ผู้หญิงขณะคลอดจะผลิตสารนี้ 10 เท่า เป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดความสุข อารมณ์ดี และสมองจะเจริญเติบโต และเรียนรู้ได้ดี ถ้าขาดสารนี้จะทำให้เราขาดความสุข แม้จะฟังเพลงที่เคยชอบ ถ้ามีสารนี้มากจะมีอารมณ์ดีเป็นพิเศษ และสนุกสนาน

การออกกำลังกายและทำกิจกรรมอื่นๆ หรือการวิ่ง จะทำให้สารนี้หลั่ง หรือการให้ทาน การช่วยเหลือผู้อื่น จะทำให้สารเคมีนี้หลั่งเช่นกัน สังเกตได้ว่า ถ้าเราออกกำลังกายหรือได้ช่วยเหลือผู้อื่น จะทำให้รู้สึกดี สมองปลอดโปร่อง มีความสุข (ไม่เชื่อ ท่านลองออกกำลังกายหรือได้ช่วยเหลือผู้อื่นดูสิคะ) แต่ไม่ใช่ออกกำลังกายที่ถูกบังคับ หรือเคี่ยวเข็ญ ซึ่งจะเกิดความทุกข์แทน

การหลั่งของ Serotonin Dopamine Endorphin ทำให้เขาสามารถเรียนรู้ และจำได้ดีขึ้น และสมองจะเจริญเติบโตดี เกิดจากการออกกำลังกาย การสัมผัสที่อบอุ่นการยิ้มแย้มแจ่มใส และการมีความสัมพันธ์ที่ดี การมองตนในแง่ดี การชมเชย การภูมิใจตนเองทำให้ร่างกายรู้สึกดี และมีภูมิต้านทานสูงขึ้น เพราะฉะนั้น ครู และพ่อแม่ อาจจะต้องหาช่องทางที่จะชมเชยเด็กอยู่เสมอ และให้มีการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวในขณะที่เรียนบ้าง ไม่ดุเด็กมากมายจนขาดเหตุผล แต่พยายามกระตุ้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน จะทำให้เด็กมีความสุข สามารถเรียนรู้ และจำได้ดีขึ้น เด็กอยาก จะเรียนวิชานั้นมากขึ้น คุณครูทดลองทำดูได้ค่ะ

เราสามารถสร้างภาวะเหล่านี้ในห้องเรียน เช่น ยืนขึ้น ยืดเส้นยืดสาย การเล่นกล เล่นตลก กายบริหารสักเล็กน้อย บิดตัวไปมา ทั้งหลายเหล่านี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกาย เพิ่มการเต้นของหัวใจและการหายใจ หรืออาจจะใช้ลูบหัว จับมือ โอบไหล่ (ครูเพศตรงข้ามห้ามทำ) ตบหลังเบาๆ ให้กำลังใจ การจับกลุ่มกันทำงาน ทำให้เด็กรู้สึกว่ามีส่วนร่วม การดูแลจากครูดี รู้สึกมั่นคงทำให้หลั่งสาร Endorphin รวมทั้งการร้องเพลง ดนตรี โดยเฉพาะกลุ่มดนตรีจังหวะสนุกสนานเร้าใจ ที่อิสระไม่ไดถูกบังคับ ก็จะทำให้สารเคมีที่ดีเหล่านี้หลั่ง ซึ่งจะมีผลทำให้สมองปลอดโปร่ง มีความสุข สุขภาพดี และความจำดี

กลุ่มที่ 2 เป็นสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความเครียด จะหลั่งเมื่อสมองได้รับความกดดัน ความเครียดอย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้
- ยับยั้งการส่งข้อมูลของแต่ละเซลล์สมอง
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของสมองและใยประสาท
- คิดอะไรไม่ออก ยับยั้งเส้นทางความจำทุกๆ ส่วน
- ภูมิต้านทานต่ำ เป็นภูมิแพ้ มะเร็งได้ง่าย 
- ทำลายเซลล์สมองและใยประสาท

Cortisol สูงทำให้
- เด็ก Hyperactive
- กังวล
- สมาธิสั้น ควบคุมไม่ได้
- ความสามารถในการเรียนลดลง

Cortisol คล้าย Adrenaline ถ้ามีมากจะมีพิษต่อสมอง เป็นสารที่เกี่ยวกับการตกใจและการต่อสู้ การตอบสนองต่อความเครียด ถ้ามีมากเกินไปจะมีอันตราย ต่อทั้งอารมณ์และร่างกาย สารนี้จะหลั่งเมื่อมีความรู้สึกไม่ดี ความเครียด (เรื้อรัง) มีความทุกข์ การมองเห็นคุณค่าตัวเองต่ำ โดนดุด่าทุกวัน ซึมเศร้า โกรธ เข้มงวดเกินไป วิตกกังวล ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายองค์ประกอบภายในสมอง ไม่ว่าใยประสาทต่างๆ หรือแม้แต่เซลล์สมอง รวมทั้งจะหยุดยั้งการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมอง ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่คุณครู หรือ พ่อแม่ ผู้ใกล้ชิดต้องระวัง ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ในขณะสอน หรืออยู่กับเด็ก การคำนึงสารเคมีในสมองทำให้ครู และบุคคลที่เกียวข้องระมัดระวังตัวมากขึ้น

ภาวะ Cortisol สูงจะทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติ เช่น เป็นโรคกระเพาะ ระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เป็นโรคภูมิแพ้ มะเร็งได้ง่าย ซึ่งเคยมีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น ครูที่ดุ หรือเคร่งครัดมากๆ หรือคนที่ทำงานเครียดมากๆ นานๆ เกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคหัวใจ ฯลฯ ท่านลองสังเกตบุคคลรอบๆ ตัวดูได้ค่ะ

การเกษียณอายุ
บางคนก็ซึมเศร้าหลังเกษียณอายุ เพราะขาดการออกกำลังกาย ไม่มีงานทำ ขาดความสุข ซึ่งทำให้ Cortisol หลั่งแต่หลังจากได้ยา หรือออกกำลังกาย ทำงานอดิเรกก็ดีขึ้น การได้ทำงานหรือเรียนในวิชาที่ชอบ การคิดในแง่บวกต่อตนเอง ทำให้สารเคมีที่ดีหลั่ง เช่น การที่เด็กได้รับคำชมเชยเสมอๆ ตรงข้ามถ้าเด็กถูกดุด่าทุกวัน เขาจะมองตนเองในแง่ลบ การเจริญเติบโตของสมอง และการเรียนรู้จะถดถอย ซึ่งสารเคมีต่างๆ ทั้งหมดจะมีผลต่อทุกคน ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ รวมทั้งคนชรา
เช่น เด็กที่เคยเรียนดีแต่ยากจน ได้ย้ายไปอยู่ในโรงเรียนที่มีแต่เด็กร่ำรวย โดนเพื่อนล้อทุกวันว่า ยากจน เด็กจะเครียด ไม่อยากไปโรงเรียน ทำให้ผลการเรียนตกต่ำ ซึ่งเกิดจาก Serotonin ลดลง แต่ Cortisol จะเพิ่มขึ้น ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นน้อย เด็กจะลืมง่าย และเด็กอาจจะเกเร ติดยา

การทำให้สมองเรียนรู้ได้ดีในห้องเรียน คือ การลดความเครียดในห้องเรียนให้มากที่สุด เช่น                  
1.    เล่นดนตรีที่มีจังหวะเร็วๆ สนุกสนาน
2.    ไม่ถือโกรธเมื่อเวลาเด็กทำผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ และฟังเหตุผลเด็กก่อนจะดุด่าว่ากล่าว อย่าตำหนิเด็ก บ่อยๆ และรุนแรง
3.    จัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อลดความเครียด     
4.     การเรียนรู้ที่สนุกสนาน มีความสุข ให้เด็กรู้ว่าครูเข้าใจความรู้สึกของเด็ก 
5.    มีการเคลื่อนไหว ยืดเส้นยืดสาย แสดงละครที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
6.     ให้เด็กแสดงออก เขียนเรื่อง และย่อความ 
7.     ให้เด็กได้แสดงออกถึงความต้องการ และความรู้สึก
8.     ไม่ควรเรียนวิชาที่ซ้ำๆ ซากๆ ที่เด็กเบื่อหน่าย หรือยากเกินไป และเกิดประโยชน์น้อย ไม่ได้ใช้ใน  ชีวิตจริง
9.     ดูแลตนเอง ไม่ให้มีอารมณ์เครียด เพื่อไม่ให้มีผลต่อเด็ก
10.   แสง สี เสียงดนตรี และการเคลื่อนไหวทำให้ความจำเกิดขึ้นได้ดี

เพราะฉะนั้น ครูต้องนึกตลอดเวลาว่าสมองเด็กกำลังเจริญเติบโต และต้องคำนึงถึงว่าเด็กต้องใช้เวลาอยู่กับครูนานเท่าไหร่ ซึ่งแสดงว่าสมองส่วนใหญ่นั้น ล้วนแต่มีผลมาจากคุณครู และต้องคำนึงถึงว่า สมองเด็กต้องการหาสิ่งใหม่ๆ ประสบการใหม่ๆ มาเรียนเสมอ ต้องการตัวกระตุ้น แต่ไม่ใช่วิชาการมากมายเกินไป ซ้ำซาก น่าเบื่อหน่าย จนทำให้เด็กมีความทุกข์ โดยให้ความรู้เฉพาะที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ซ้ำๆ ซากๆ ต้องมีความพอดีในการให้ความรู้แก่เด็ก และการทำกิจกรรม ออกกำลังกาย การพักผ่อน และต้องดูแลสิ่งแวดล้อม ที่จะมีผลต่อสมองเด็ก และการเรียนรู้

สรุปปัจจัยที่มีผลต่อสมอง
สมองเจริญเติบโตดี (ฉลาด) (โดยเฉพาะก่อนวัยรุ่น)   

ปัจจัยที่เป็นผลลบต่อสมอง
(เป็นได้ทุกวัย)
-     การได้ทำกิจกรรมกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
-    ได้ทำงาน/เรียนในสิ่งที่ชอบ
-    การละเล่นต่างๆ/เล่นกับเพื่อนๆ
-    การได้ฟังการเล่านิทาน
-    ศิลปะ ดนตรี กีฬา ออกกำลังกาย ร้องเพลง ตามความถนัด และอิสระ   ไม่ถูกบังคับ ไม่ใช่ท่องทฤษฎีซ้ำซาก
-    ได้รับคำชมเชยเสมอ
-    มองภาพตนเองบวก
-    เป็นคนยืดหยุ่น ไม่เข้มงวดเกินไป
-    ช่วยเหลือตนเองตามวัย
-    ความรัก ความอบอุ่นจากพ่อแม่/ผู้ใกล้ชิด
-    ทัศนศึกษา : สัมผัสกับของจริง
-    อาหารครบ 5 หมู่    
-    ความเครียดนานๆ จากทุกสาเหตุ เช่น
-    ถูกบังคับให้เรียน/ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ
-    ทำงาน/เรียนหนัก การบ้านมาก ไม่มีเวลาพักผ่อน/ออกกำลังกาย
-    ถูกดุด่าทุกวัน ฯลฯ
-    มองคุณค่าตัวเองต่ำ
-    วิตกกังวล ทุกข์นานๆ
-    ความกลัว โกรธนานๆ
-    เข้มงวดเกินไป ฯลฯ
-    สมองไม่ถูกใช้หรือกระตุ้นเลย
-    ขาดสารอาหาร
-    การได้รับสารพิษ เช่น ยาเสพติด