ก๊วนชวนเที่ยว สุพรรณบุรี อีเมล์
เขียนโดย แม่จา   
เสาร์, 29 กันยายน 2007

แม่จาขอแนะนำครอบครัวชอบเที่ยว รวมก๊วนครอบครัวคอเดียวกันชวนไปเที่ยว ?สุพรรณบุรี?  พอเอ่ยถึงสุพรรณบุรีหลายคนอาจนึกไม่ออกว่าจะมีอะไรเที่ยว  มีค่ะ มีแหล่งท่องเที่ยวดีๆสำหรับครอบครัวด้วย  จะแนะนำ 3 แห่งที่อยู่บนเส้นทางเดียวกัน สามารถไปทั้งสามแห่งแบบเช้าไปเย็นกลับได้   แต่ถ้าจะให้เที่ยวแบบไม่ใช่ไปแว๊บๆก็อยากแนะนำให้แยกเป็นสองครั้งจะดีกว่า หรือไม่ก็ไปพักค้างคืน
ถ้าขับรถมาจากกรุงเทพจะถึง ?บ้านอนุรักษ์ควายไทย? ก่อน (อยู่ฝั่งขวามือ)  ถัดไปคือ ?ตลาดร้อยปีสามชุก?    (อยู่ฝั่งซ้ายมือ)  และที่สุดท้าย ?บึงฉวาก? (อยู่ฝั่งซ้ายมือ) แผนที่เดินทางดูรายละเอียดท้ายบทความ
ถ้าจะเที่ยวแบบสบายๆ ได้ซึมซับวิถีชีวิต  แนะนำให้ไปบ้านอนุรักษ์ควายไทยเช้า ทานอาหารเที่ยงที่สามชุกและเดินเล่นในตลาดต่อถึงบ่ายๆ  ส่วนอีกครั้งค่อยไปบึงฉวากเพราะบึงฉวากกว้างมากมีที่เที่ยวเยอะถ้าเดินทางต่อจากสามชุกไปจะดูได้แค่บางส่วน(ซึ่งครั้งแรกก๊วนชวนเที่ยวของเราก็ไปกันแบบวันเดียว 3 แห่ง มันเร่งเกินไปค่ะ)  หรือถ้าหากมีเวลามีงบประมาณค้างคืนที่บ้านอนุรักษ์ควายไทยก็ได้ที่นั่นมีที่พักสะอาดสบาย ราคาดี
ImageImageImage
" บ้านควาย - สุพรรณบุรี " ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และรักษาขนบธรรมเนียม
และวัฒนธรรมซื่งเป็นมรดกของประเทศไทย ซึ่งสามารถเดินชมรอบๆ ภายในบริเวณมีการจัดแสดงงาน
พิธีต่างๆ อาทิเช่น การแต่งงานแบบไทย การทำขนมไทย การแสดงความสามรถพิเศษของควายไทย ชมวิธี
การอนุรักษ์หมู่บ้านชาวนาและบ้านเรือนไทยโบราณ พร้อมทั้งมีการจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองอีกมากมาย
สัมผัสกับวิถีการดำเนินชีวิตแบบย้อนยุค และกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ เช่น การทำนา
แบบโบราณที่ยังใช้แรงงานจากควาย และอุปกรณ์การทำนาแบบโบราณ หมู่บ้านชาวนา และสวนสมุนไพร
ImageImageImage
บ้ายควาย เปิดทุกวัน เวลา 9.00 น. - 18.00 น.
เวลาการแสดงความสามารถของควาย
วันจันทร์ - วันศุกร์ : 11.00 น . และ 16.30 น.
วันเสาร์ และ วันอาทิตย์ : 11.00 น., 14.30 น. และ 16.30 น
ค่าบัตรผ่านประตู  เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20บาท
ข้อมูลเพิ่มเติม และติดต่อที่พักดูได้ที่ http://www.buffalovillages.com

ตลาดร้อยปีสามชุก  
ImageImageImage
เป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่ยังคงสภาพบ้านเรือน และตลาดแบบดั้งเดิม สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ เป็นอาคารไม้โบราณขนาด 3 ชั้น ซึ่งท่านเจ้าสัวเจ้าของตลาดมอบให้เป็นแหล่งรวบรวมภาพถ่ายและของใช้โบราณสมัยก่อน ร้านถ่ายรูปโบราณ"ศิลป์ธรรมชาติ"ที่ยังมีกล้องถ่ายภาพโบราณอายุกว่าร้อยปีให้บริการ ร้ายขายยาจีน และเพลิดเพลินกับขนม อาหารพื้นเมือง เช่น กาแฟโบราณที่ยังใช้เครื่องคั่วกาแฟแบบดั้งเดิมบริเวณริมน้ำ , บะหมี่เกี๊ยว"เจ็กอ้าว"ที่เส้นบะหมี่ทำเองจึงสดและใหม่ , น้ำพริก"แม่กิมลั้ง"หลายหลากรสชาติ , ข้าวห่อใบบัวคุณหรั่งอร่อยล้ำ , เป็ดย่างจ่าเฉิด สูตรดั่งเดิม น้ำจิ้มรสเด็ด , ขนมสาลี่, ขนมกง และปลาสลิดแดดเดียว
ImageImage
ภาพซ้าย คุณยายคนขวาสุดเป็นลูกสาวของขุนจำนงจีนารักษ์ 
ก่อนจะเริ่มเดินเที่ยวขอแนะนำให้ไปที่ซอย 2 ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์  ฝั่งตรงข้ามพิพิธภัณฑ์จะมีแผ่นพับแจกนักท่องเที่ยวแนะนำการเดินตลาดและมีมักขุเทศน์ตัวน้อยที่ชุมชนอบรมให้เป็นผู้นำทางผู้มาเยือน

บึงฉวาก
ImageImage
.............บึงฉวากมีพื้นที่ร่วม 2,000ไร่  และรวมไว้ด้วยความ หลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง .         บึงฉวากจึงถูกจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตาม อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีมาตั้งแต่ปี 2541 ลักษณะที่เรียกมีบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ กว้างไกล สุดสายตาว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตาม อนุสัญญาแรมซาร์นั้นก็คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล
สถานที่เที่ยวในบึงฉวากแบ่งออกเป็น 6 ส่วน มีศูนย์แสดงพันธ์สัตว์น้ำที่นี่มีปลาน้ำจืดที่ไม่น่าจะหาดูได้ที่ไหนมากเท่านี้ และมีอุโมงค์ใต้น้ำที่มีการโชว์นักประดาน้ำให้อาหารปลาเป็นรอบๆ ถ้าเราพาเด็กๆเดินดูแล้วก็ผ่านไปเฉยๆก็ได้แค่ตื่นตาตื่นใจ  ลองติดสมุดบันทึกไปให้เด็กๆวาดปลาที่ตัวเองชอบ สังเกตหางปลา ลำตัวปลา ลายตัวปลาและวาดลงสมุดบันทึกว่าต่างกันอย่างไร  นอกจากได้ความสนุกแล้วยังฝึกให้เด็กๆเป็นคนช่างสังเกตอีกด้วย
ImageImageImage
ใกล้ๆกันจะเป็นบ่อจระเข้น้ำจืดเด็กๆเดินขึ้นสะพานผ่านบ่อจระเข้ได้ไม่อันตรายเพราะมีกรงกั้น  ถ้าจระเข้นอนอยู่เฉยๆจะคิดว่าเป็นของปลอมเพราะมันดูนิ่งมาก  ลองให้เด็กๆสังเกตเวลาจระเข้อ้าปากว่าจระเข้มีฟันไหม  คุณพ่อคุณแม่ตอบเด็กๆได้ไหมว่าจระเข้มีประโยชน์อะไรบ้าง  อีกสี่ส่วนที่เหลือเป็นกรงเสือและสิงโต  กรงนกใหญ่  อุทยานผักพื้นบ้าน  ศูนย์รบรวมพันธ์ไก่  กรงสัตว์หายาก และเกาะกระต่าย ที่เกาะกระต่ายเค้าปล่อยให้กระต่ายวิ่งเล่นอิสระ เด็กๆจะได้เห็นกระต่ายอย่างใกล้ชิด  ที่นี่มีบริการรถนั่งเชื่อมต่อแต่ละจุดเที่ยว(เนื่องจากบางจุดห่างไกลกันและต้องขับรถไป) ค่าบริการนั่งรถไม่กี่สิบบาท  ส่วนค่าบัตรผ่านประตูผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท เด็กเล็กฟรี  สามารถดูแผนที่บึงฉวากและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.suphanburi.go.th/bungchawak

แผนที่เที่ยวสุพรรณบุรี
Image
การเดินทางโดยรถยนต์
..........เริ่มจากถนนสายตลิ่งชัน ? สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 160 กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าได้ 2 ทาง คือ
1. บนทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 147 ด้านซ้ายมือ จะมีป้ายทางเข้าบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ และทางเข้าวัดเดิมบาง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนซอยข้างวัด ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึง สามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตาม


Add as favourites (616) | Quote this article on your site

Comments (5)
21-03-2008 03:55
 
น่าเที่ยวจังเลย 
 
(ทุกๆที่ที่เเนะนำ)
ผู้เยี่ยมชม
 
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้
20-04-2008 04:38
 
ถ้าใครชอบทำบุญ ลองลงเรือไว้พระ ซิคะ น่าสนใจ เพราะมีวัดหลายวัดที่ อยู่ริมน้ำ มีบรรยากาศร่มรื่น
ผู้เยี่ยมชม
 
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้
13-08-2008 11:02
 
แวะไปตลาดร้อยปีสามชุ กด้วยสิ 
 
มีเป็ดย่าง เป็ดพะโล้ ร้านเจ๊ตี๋ สูตรใหหลำ น้ำจิ้มแสนอร่อย ราคาถูกด้วยนะจ๊ะ
ผู้เยี่ยมชม
 
Niky
14-03-2009 12:50
 
น่าสุดๆๆ 
ถ้าใครไปฝากถ่ายรูปสั ตว์ให้ด้วย :x :x :zzz :zzz :eek :eek
ผู้เยี่ยมชม
 
08-06-2009 09:57
 
ตลาดสามชุกร้อยปี 
 
ร้านพี่นก-พี่เฉลย ปลากสลิดแดดเดียว 
ปลาดสลิดรสชาติดีอร่อ ย เค็มพอดี 
สดใหม่ทุกวัน ซื้อไปแล้วห่อกระดาษ2 ั้นใส่มะกรุดดับกลิ่ อย่างดี 
ซื่อไปแล้วไม่ผิดหวัง ราคาถูกเป็นกันเอง 
แม่ค้าใจดี ยิ้มตลอด อ้วนดำ... 
วันจันทร์-ศุกร์ หลังอำเภอสามชุก...ซ.1 อยู่ตรงข้างหน้าร้านน าฬิกา บุญช่วย หัตถกิจ 
วันเสาร์-วันอาทิตย์ อยู่...ซ.2 หัวมุม 
 
 
หมักเองทำเอง 081-0839293
ผู้เยี่ยมชม
 

เขียน Comment
ชื่อ:
E-mail
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
Comment:



Code:* Code